11.11.2550

Stefan Sagmeister Talking

กราฟฟิกดีไซน์ในแบบของ Stefan Sagmeister

ดย สเตฟาน แซกไมสเตอร์

กราฟฟิกดีไซน์เนอร์

ในความคิดของสเตฟาน แซกไมสเตอร์ กราฟฟิกดีไซน์
คือภาษาพิเศษที่มีพลังดึงดูดผู้คนได้ในเวลาอันสั้น ฉะนั้น
เขาจึงให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดของการออ

กแบบ ตั้งแต่ความหมายไปจนถึงรูปแบบและวิธีการนำเสนอ

ในงานชุมนุมทางความคิด “Creativities Unfold, Bangkok 2007 – 2008” ณ กรุงเทพมหานคร สเตฟาน แซกไมสเตอร์เล่าถึงชีวิตการทำงานและผลงานต่างๆ ของเขาในอดีต ซึ่งทำให้ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงนัยสำคัญเบื้องหลังความงามและปรัชญาการทำงานของชายคนนี้

ประสบการณ์และผลงานใน

ชีวิตของเขาปรับเปลี่ยนและเติบโต
ตามวันเวลา แซกไมสเตอร์เล่าถึงชีวิต
นักอ
อกแบบของเขาใน
5 ประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้

1. การออกแบบเพื่องานดนตรี
2. การออกแบบเพื่อสังคม
3. การออกแบบสำหรับองค์กร
4. การออกแบบให้ศิลปิน และ
5. ออกแบบอย่างนักประพันธ์

ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 2000 แซกไมสเตอร์ อิงค์ ทำงานออกแบบให้กับอุตสาหกรร

มดนตรีเป็นหลัก เขาเคยออกแบบปกอัลบั้มและโปสเตอร์ให้กับวงดนตรีชื่อดังระดับโลกอย่างเดอะ โรลลิ่ง สโตนส์ โลว์ รีด หรือเดวิด เบิร์นมาแล้ว

แต่ในช่วงใกล้สิ้นสหัสวรรษที่ผ่านมา แซกไมสเตอร์หันมาให้
ความสนใจกับการออกแบบเพื่อสังคม เขาเลือกที่จะหันหลังให้ธุรกิจและอุทิศเวลาหนึ่งปีเต็ม (ปี ค.ศ. 2000) ให้กับการทดลองด้าน
การออกแบบของตนเองและเพื่อนๆ

ตลอดหนึ่งปีนั้น แซกไมสเตอร์ทำงานออกแบบเพื่อสังคมหลายอย่าง

ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบโลโก้ใหม่ให้กับมิวสิคเซ็นเตอร์ในประเทศโปรตุเกส งานโครงการรณรงค์ให้รัฐบาลสหรัฐแปรงบสนับสนุนจากกองทัพมาให้ภาคการศึกษาแทน หรืองานออกแบบหนังสือเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน เป็นต้น

หลังจากปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา แซกไมสเตอร์กลับเข้าสู่โลกธุรกิจ และแซกไมสเตอร์ อิงค์ก็กลับสู่ความนิยมอีกครั้ง พวกเขาทำงาน
ให้กับลูกค้ามากมายหลายประเภท ผลงานใหม่ๆ มีทั้งงานออกแบบสำหรับองค์กร งานโลโก้ งานหนังสือ และงานโฆษณา

ต่อมาไม่นาน แซกไมสเตอร์ก็มีโอกาสทำงานออกแบบให้กับศิลปินหลายๆ คน เขาเผยกับผู้ฟังว่า อาจเป็นเพราะด้วยวัยวุฒิที่สูงขึ้น
บวกกับโอกาสที่ได้ไปพิพิธภัณฑ์และแกลเลอรี่บ่อยครั้ง เขาจึง
ตัดสินใจลองทำงานให้กับศิลปินดูบ้าง เพราะในขณะนั้น เขาเองก็สนใจในโลกศิลปะอยู่ไม่น้อย

ส่วนในหัวข้อออกแบบอย่างนักประพันธ์นั้น แซกไมสเตอร์กล่าวว่า
ในช่วงหลังๆ นี้ เขาใช้ถ้อยคำและภาษาในงานออกแบบมากขึ้น
แซกไมสเตอร์จดบันทึกเรื่องราวเพื่อย้ำเตือนสิ่งที่คิดและอยากทำ

อยู่เสมอ ซึ่งข้อความในสมุดบันทึกเหล่านี้เองที่กลายมาเป็นผลงาน
ออกแบบชิ้นโบว์แดงของเขาในเวลาต่อมา

เมืองปารีสเคยขอให้แซกไมสเตอร์ออกแบบอะไรก็ได้ลงบนบิลบอร์ดที่ร้างอยู่จำนวนหนึ่ง โจทย์ข้อเดียวคือให้เป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้คนที่สัญจรอยู่ในละแวกนั้น แซกไมสเตอร์คัดเลือกข้อความจากสมุดบันทึกของเขาและลองนำเสนอมันด้วยวิธีการใหม่ เขาใช้การถ่ายภาพนำเสนอถ้อยคำเหล่านั้นบนบิลบอร์ด ผลปรากฎว่าสาธารณะชนให้การตอบรับ
ดีมาก มีการทำซ้ำอีกหลายรอบในหลายๆ เมือง ประเทศสิงคโปร์ก็เคยทำงาน

ในลักษณะเดียวกันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณค่าทางสังคมและกระตุ้นมุมมองใหม่ในชีวิตของชาวสิงคโปร์

ในช่วงท้ายของการบรรยาย แซกไมสเตอร์พูดถึงเทคนิคที่เขานำมาใช้
ในงานออกแบบบ่อยครั้ง ความน่าสนใจอยู่ที่ว่ามันเกี่ยวข้องกับทฤษฎี
การรับสารด้วย

กราฟฟิกดีไซน์นั้นต่างจากภาพยนตร์และงานเขียนอยู่มาก ผู้รับสาร

ของเราจะสนใจสิ่งตรงหน้าแค่เพียงไม่นาน เหมือนเวลามีคนยื่นนามบัตรให้คุณ คุณจะมองผ่านมันเพียงแว้บเดียวเท่านั้น แล้วก็เก็บใส่กระเป๋า หรือถ้าเป็นหน้าเว็บไซต์ คุณก็อยู่กับมันแค่นาทีสองนาทีเอง

ภายในเวลาสั้นๆ ตรงนั้น เราต้องดึงความสนใจจากผู้รับสารให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นนามบัตร หนังสือ หรืออะไรก็ตาม อาจจะออกแบบให้มันเคลื่อนไหวได้ มีรูปร่างหน้าตาที่ไม่ธรรมดา ทำยังไงก็ได้ให้ผู้คนใช้เวลาอยู่กับผลงานนานขึ้นกว่าปกติ จริงๆ กลเม็ดเรียกความสนใจมันก็มี หลายอย่างนะ มุขตลกหรือการแกล้งให้ตกใจก็เป็นวิธีหนึ่ง แต่สำหรับ

มแล้ว ผมชอบให้คนมีส่วนร่วมในการรับชมผลงานของผมมากกว่าแซกไมสเตอร์กล่าวปิดท้าย

..........................................................................................................................................................................

http://www.creativitiesunfold.com/

ไม่มีความคิดเห็น: